top of page

Astrology

Secrets
SINCE 2013

                    Astrology

 

                  วิชาโหราศาสตร์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

...คำว่าโหรา แปลมาจาก อโหราตร์ สันสกฤตและ อโหรตตัง มคธตรงกับความหมายที่ว่า " วันและคืน"
ตามปทานุกรมฉบับหนึ่งว่า โหราคืออุทัยแห่งราศี ชั่งโมง ลักษณะหรือเครื่องหมาย เรขาหรือเลขา ศาสตร์อันว่าด้วยกษัตรวิทยา

อีกฉบับหนึ่งให้ความหมายศัพท์ไว้ดังนี้คือ...


อโหรา คือ ชั่วโมง หรือชาตะ
โหราจารย์ คือผู้ที่ทำนายทางวิชชาโหร
โหราศาสตร์ คือตำราดูฤกษ์ดาราศาสตร์
คำว่า"โหร" ไทยอ่านว่าโหร สันสกฤตอ่านว่า โหรา แปลว่าหมอดูฤกษ์หรือผู้ชำนาญทางดาราศาสตร์
"โหรา" แปลว่า โลกอื่น แปลความหมายได้ว่า"ทายกาลล่วงหน้า หรือว่าดูอนาคตล่วงหน้า
"ศาสตร์" แปลว่า วิชาการต่างๆ
รวมความได้ว่า โหราศาสตร์แปลว่า วิชาที่ดูอนาคตล่วงหน้า

วิชาโหราศาสตร์ เป็นวิชาที่ใช้สำหรับพยากรณ์ผลกรรมของมนุษย์ ทางพุทธศาสตร์อาศัยเหตุ เป็นเครื่องพยากรณ์ผล ส่วนโหราศาสตร์นั้นอาศัยดวงดาวเป็นเครื่องพยากรณ์ คือเป็นเครื่องเทียบเคียงผลกรรมของมนุษย์ ที่มนุษย์เราทุกคนได้รับผลกรรมนั้นอยู่ และจะได้รับผลต่อไปในชั่วระยะกาลแห่งชีวิต ทั้งที่เป็นกรรมดี และกรรมชั่ว โหราศาสตร์จึงเป็นเครื่องชี้ผลกรรมของมนุษย์ทั้งหลายในโลกนี้โดยอนุมาน...

โหราศาสตร์มีหลักใหญ่ๆ รวม ๓ ประการด้วยกันกล่าวคือ...


๑. ภาคคำนวณ สำหรับโหรไทยเราก็ได้แก่การศึกษา คำนวณการโคจรของดาวเคราะห์ ตามคัมภึร์
พระสุริยาตร์ คำนาณหาจุดอุปราคา ตามคัมภีร์สารัมภ์ฯลฯ
๒. ภาคพยากรณ์ คือการศึกษาในการพยากรณ์ดวงชาตาของบุคคล พยากรณ์ความเป็นไปของบ้านเมืองฯลฯ
๓. ภาคพิธีกรรม คือเมื่อพยากรณ์ดวงชาตาดูแล้ว เห็นว่าอยู่ในเกณฑ์มีเคราะห์ร้าย ก็จะจัดพิธีกรรม
สะเดาะเคราะห์ให้ แนะนำวิธีการต่างๆให้กับเจ้าของดวงชาตานั้นๆไปปฏิบัติตาม

โหราศาสตร์ในประเทศไทย จะเริ่มมีมาแต่ครั้งใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่มีหลักฐานบางประการชี้ชัดว่า ในสมัยพันกว่าปีมาแล้วนั้น โหราศาสตร์ได้มีอยู่แล้ว ในผืนแผ่นดินไทยเรา...


ในบทความนี้ได้อธิบายความหมายของวิชาโหราศาสตร์ไปโดยสังเขป ในบทความต่อไป จะค่อยๆ
ชี้แนะให้ทุกคนได้เรียนรู้วิชาโหราศาสตร์ไว้เป็นความรู้ประดับตนเอง และเพื่อเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
ในภายหน้าได้...ครับ...

 

 

  • Wix Facebook page
  • Tumblr Classic
  • Pinterest Classic
  • Wix Twitter page
  • Wix Google+ page
  • YouTube Classic
  • Blogger Classic
bottom of page